ทำความรู้จักกับ โพลิโคซานอลสารสกัดจากไขอ้อย…คำตอบของการชะลอวัย หุ่นสวย ผิวใส สุขภาพดี
โพลีโคซานอล (Policosanol) เป็นสารพฤกษเคมี พบได้ในไขจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น ไขจากผึ้ง อ้อย รำข้าว ถูกค้นพบโดยกลุ่มนักวิจัยชาวคิวบา (Thorne Research Inc., 2014)
โดยมีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับองค์ความรู้ของการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) พบว่าสารกลุ่มโพลีโคซานอล (Policosanol) ที่พบได้เฉพาะในไขเปลือกอ้อย (Saccharum officinarum, L.) มีสูตรโครงสร้างคล้ายยาลดไขมันในเลือด กลุ่ม Statin
จากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกมากกว่า 60 การวิจัย และมีการตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารทางการแพทย์ American Heart Journal ปี 2002 ถึงคุณประโยชน์ของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) ในการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายแม้ใช้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาลดไขมันในเลือด ส่งผลให้สารสกัดจากธรรมชาติ “โพลีโคซานอล (Policosanol)” เป็นรู้จักและยอมรับกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกในขณะนี้
โพลิโคซานอล และงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ
โพลิโคซานอลกับการลดคอเลสเตอรอล
จากงานวิจัยพบว่า:
- โพลิโคซานอล มีประสิทธิภาพในการลดไขมันไม่ดี (LDL) และคอเลสเตอรอลรวมได้ใกล้เคียงกับยาลดไขมันกลุ่ม Statins
- ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดไขมันคอเลสเตอรอลอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยลดระดับของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดรวม (TC) และไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) โดยไม่เป็นอันตรายต่อตับหรือก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ
กลไกการลดคอเลสเตอรอล | |
ยาลดไขมันกลุ่ม Statin | ยับยั้งกลไกการสร้างคอเลสเตอรอลที่ตับโดยตรง |
โพลิโคซานอล | กระตุ้นกลไกการลดคอเลสเตอรอลของร่างกาย เมื่อระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นร่างกายจะส่งสัญญาณให้ลดการสร้างคอเลสเตอรอลที่ตับ |
สารสกัดโพลิโคซานอล ช่วยปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล และเสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับของไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง ช่วยสร้างไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยบำรุงตับให้สร้างไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) มากขึ้น
โดยปกติไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) จะมีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ ซึ่งการเพิ่มระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) ในกระแสเลือด เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ถึง 3-4%
ลดความเสี่ยงภาวะการอุดตันของเกล็ดเลือดได้ถึง 50 % ช่วยปรับลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
โพลิโคซานอลกับการลดความดัน
จากงานวิจัยพบว่าโพลิโคซานอล ส่งผลดีในผู้ที่มีความดันสูงและความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) ช่วยลดความดันและลดภาวะหลอดเลือดแตก ตีบ และตันได้
โพลิโคซานอลกับการดูแลรูปร่างและผิวพรรณ
จากงานวิจัยพบว่า:
- ช่วยลดไขมันในช่องท้อง เพิ่มการเผาผลาญไขมันทั่วร่างกาย จึงช่วยต้านโรคอ้วนได้
- ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ช่วยในการทำงานของยีนส์ AMPK ที่ควบคุมภาวะชราภาพ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว
ผลของโพลิโคซานอลต่อสมอง หัวใจ และหลอดเลือด
จากงานวิจัยพบว่า: โพลิโคซานอล ช่วยปกป้องสมอง หัวใจ และหลอดเลือดจากทุกปัจจัยเสี่ยงหรือที่เรียกว่า ไพลโอทรอปิกเอฟเฟค ได้แก่
- ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ
- ลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด
- ลดความข้นหนืดของเลือด
- ลดการหนาตัวของผนังหลอดเลือด ลดคราบพลัค
- เพิ่มความเรียบลื่นของผนังหลอดเลือด
- จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและสมอง
โพลิโคซานอลกับมะเร็ง
จากงานวิจัยพบว่า: ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และเนื้องอกบางชนิด เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
โพลิโคซานอลกับโอเมก้า 3
จากงานวิจัยพบว่า: การรับประทานโพลิโคซานอลร่วมกับโอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการอักเสบ ลดความข้นหนืดของเลือด และลดการเกิดลิ่มเลือดได้ดีขึ้น ลด LDL (ไขมันไม่ดี) และเพิ่ม HDL (ไขมันดี) ได้มากขึ้น
พลิโคซานอลกลับยาแอสไพรินและวาร์ฟาริน
จากงานวิจัยพบว่า: สามารถใช้ร่วมกับยาแอสไพรินและยาวาร์ฟารีนได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกมากขึ้น และนอกจากนี้ยังสามารถรับประทานโพลิโคซานอลรวมกับยาเหล่านี้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง
- ยาลดความดัน
- Calcium Chanel Blocker
- ยา Cardiac Glycosides (สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด)
หลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อเลือกใช้สารสกัดโพลิโคซานอล (Policosanol)
- ควรเป็นสารที่สกัดได้จากไขเปลือกอ้อยซึ่งสกัดด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ เพื่อให้ได้สัดส่วนของสารสำคัญตรงตามที่ใช้ในการวิจัยทางการแพทย์ จึงสามารถมั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัย
- ควรเป็นสารสกัดโพลิโคซานอล รูปแบบแคปซูลนิ่ม ซึ่งจะช่วยในการกระจายตัวของสารสกัดโพลิโคซานอล ทำให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าการผลิตในรูปยาเม็ดตอก (Tablet)
- ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับมาตรฐานยาระดับสากล ( Pharmaceutical Grade) เพราะสามารถมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย ปราศจากผลข้างเคียงและสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยได้รับการรับรองจากองค์กรต่างๆ
ยืนยันประสิทธิภาพและความพึงพอใจจากผลการทดลองในอาสาสมัครที่มีภาวะโคเลสเตอรอล, LDL (ไขมันไม่ดี) และไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง
ทดลองจากผู้ที่มีช่วงอายุระหว่าง 31 – 54 ปี จำนวน 15 คน โดยให้รับประทานโพลิโคซานอลผสมน้ำมันเมล็ดงาขี้ม่อน, น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์, น้ำมันงา, วิตามินอีและวิตามินดี 3 จำนวน 1 แคปซูล (523.63 มก.) เป็นประจำทุกวัน เมื่อครบเวลา 8 สัปดาห์ และจากการประเมินข้อมูลทางสถิติพบว่าได้ผลอย่างมีนัยสำคัญโดย:
- ความดันตัวบนเฉลี่ยลดลง 6.1 mmHg โดยลดลงได้สูงสุด 26 mmHg
- ระดับคอเลสเตอรอลรวมเฉลี่ยลดลง 13 mg./dL โดยลดลงได้สูงสุด 57 mg/dL
- ระดับ LDL (ไขมันไม่ดี) เฉลี่ยลดลง 20 mg./dL โดยลดลงได้สูงสุด 71 mg/dL
- ระดับ HDL (ไขมันดี) เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6.5 mg./dL โดยเพิ่มขึ้นได้สูงสุด 19 mg/gL
- ช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้นโดยลดค่าเอนไซม์ตับ AST
- ไม่ส่งผลกระทบต่อไตแม้ในผู้ที่มีระดับ Creatinine สูง
หมายเหตุ:
วัดผลด้วยวิธีการตรวจเลือดจากห้องปฏิบัติการทางแพทย์ของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 15189 และ ISO 15190
ผลิตภัณฑ์โพลิโคซานอลของกิฟฟารีน
กิฟฟารีน โคซานอล มัลติ แพลนท์ โอเมก้า 3 ออยล์ ขนาด 10 แคปซูล หรือ ขนาด 30 แคปซูล
เอกสารอ้างอิง:
- ประสิทธิผลของโพลิโคซานอลต่อระดับไขมันในเลือดและการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดในผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน: วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2560
- Comparative efficiency, Safety and tolerability of policosanol versus statins in patients with type II hypercholesterolmia: Emphasis on muscle function indicators. Revista CENIC Ciwncias Quimicas. 2003.
- Policosanol attenuates statins-induced increase in serum proprotein convertase subtilisin/kexin type 9 when combined with atorvastatin. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2014.
- Consumption of cuban policosanol improves blood pressure and lipid profile via enhancement of HDL functionality in healthy women subjects: randomized, double-blinded, and placebo-controlled study. Oxidative Medicine and Cellular longevity. 2018
- Effect of policosanol on older patients with hypertension and type II hypercholesterolaemia. Drug in R&D. 2002
- Short-term consumption of cuban policosanol lowers aortic and peripheral blood pressure and ameliorates serum lipid parameters in healthy korean participants: randomized, double-blinded, and placebo-controlled study. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2019.
- Multiple function of policosanol in elderly patients with dyslipidemia. Journal of International Medical Research. 2020.
- Effects of policosanol in patients with metabolic syndrome: a six-month study. J Endocrinol MetaB. 2020.
- A Review of the Effects of Policosanol on Metabolic Syndrome. Clinical complementary Medicine and Pharmacology. 2022.
- Policosanol suppresses tumor progression in gastric cancer xenograft model. Toxicological Research. 2022.
- Effect of octacosanol on HMG-CoA reductase and cyclooxygenase-2 activities in the HT-29 human colorectal cancer cell line. ScienceAsia. 2022.
- Effects of combination treatment with policosanol and omega-3 fatty acid on platelet aggregation a randomized double-blind clinical study. Current Therapeutic Research. 2006.
- Effects of addition of policosanol to Omega-3 fatty acid therapy on the lipid profile of patients with type II hypercholesterolaemia. Drugs R D. 2005.
- Effect of policosanol (20 mg/d) on the functional recovery of patients with ischemic stroke: a one-year study. Revista CENIC. 2018.
- Pharmacokinetic and pharmacodynamics interactions of Echinacea and policosanol with warfarin in healthy subjects. British Journal of Clinical Pharmacology. 2010.
- Effects of policosanol on older hypercholesterolemia patients consumed calcium channel blockers. Revista CENIC Ciencias BiolOgicas. 2018
- Concomitant use of policosanol and cardiac glycosides in older patients. Revista CENIC Ciencias BiolOgicas. 2018