แมกนีเซียม: แร่ธาตุเล็ก ๆ แต่สำคัญต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นหนึ่งในแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการ แม้จะต้องการในปริมาณไม่มากเท่ากับธาตุอื่น ๆ เช่น แคลเซียม หรือโพแทสเซียม แต่หน้าที่ของแมกนีเซียมครอบคลุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ตั้งแต่ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ ไปจนถึงกระดูก การได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตและการมีสุขภาพที่ดี
แมกนีเซียมคืออะไร?
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ในเซลล์และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย โดยเฉพาะในกระดูกซึ่งเก็บสะสมแมกนีเซียมไว้มากถึงร้อยละ 60 และพบได้ทั่วไปที่กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และของเหลวต่างๆ รวมทั้งเลือด บทบาทหลักประการหนึ่งคือการทำหน้าที่เป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาในร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยามากกว่า 600 ปฏิกิริยาในร่างกาย รวมถึง การผลิตพลังงาน การสังเคราะห์โปรตีน ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และควบคุมการทำงานของระบบประสาท
ประโยชน์ของแมกนีเซียมต่อร่างกาย
1. สนับสนุนการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
แมกนีเซียมมีบทบาทในการควบคุมการส่งสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถหดและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดอาการตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก และการเกร็งของกล้ามเนื้อได้ดี
2. เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
แมกนีเซียมทำงานร่วมกับแคลเซียมและวิตามินดีในการสร้างมวลกระดูกและป้องกันภาวะกระดูกพรุน โดยมีบทบาทในการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดและช่วยให้แคลเซียมสามารถเข้าไปสะสมในกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น
แมกนีเซียมช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน ซึ่งมีส่วนในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การมีแมกนีเซียมในระดับเหมาะสมจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
4. สนับสนุนการทำงานของหัวใจ
แมกนีเซียมมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้หัวใจมีสุขภาพดีและแข็งแรง มีการศึกษาว่าการเสริมแมกนีเซียมสามารถช่วยลดระดับความดันเลือด ซึ่งอาจจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความดันโลหิตสูง
5. ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น
แมกนีเซียมมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและการทำงานของสารสื่อประสาท เช่น GABA (Gamma-Aminobutyric Acid) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและนอนหลับได้ง่ายขึ้น
6. ลดอาการเครียดและซึมเศร้า
มีงานวิจัยพบว่าการได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอจะช่วยรักษาและป้องกันความวิตกกังวล ลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า รวมทั้งมีการวิจัยอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าการขาดแมกนีเซียมอาจเพิ่มความไวของร่างกายต่อความเครียดและอาการวิตกกังวล
กลุ่มเสี่ยงที่อาจขาดแมกนีเซียม
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้สูงอายุที่มักจะขาดสารอาหาร
- ผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ
- ผู้ที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย
แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม
การรับประทานอาหารที่หลากหลายคือวิธีที่ดีที่สุดในการได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอ โดยแหล่งอาหารหลักได้แก่:
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ แมคาเดเมีย พิสตาชิโอ
- ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย
- เมล็ดพืช เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเจีย
- ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม คะน้า บร็อกโคลี
- กล้วย อะโวคาโด และผลไม้อื่น ๆ ที่มีเนื้อแน่น
- ดาร์กช็อกโกแลต ที่มีโกโก้สูง
ปริมาณที่แนะนำ
ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคเสริมแมกนีเซียมต่อวันประมาณ 175 – 350 มก.
สรุป
แมกนีเซียมอาจเป็นแร่ธาตุที่หลายคนมองข้าม แต่จริง ๆ แล้วมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพในหลายด้าน ตั้งแต่หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ ไปจนถึงระบบประสาท การขาดแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ ดังนั้นควรใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาว
แต่ในชีวิตประจำวันของหลายคนอาจได้รับแมกนีเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในกลุ่มที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย มีพฤติกรรมเร่งรีบ หรืออยู่ในภาวะเครียดต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กิฟฟารีน ไบโอ แมกนีเซียม พลัส (Giffarine Bio Magnesium Plus) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมแมกนีเซียมให้กับร่างกายอย่างสะดวกและปลอดภัย